อาสาชัยนาท


อาสาชัยนาท…..

สวัสดีปีใหม่ครับเพื่อนๆ  ผมหายไปนาน  กลับมานี้ก็มีเรื่องมาเล่าสู่กันฟัง  ประมาณกลางๆ เดือนธันวาปีที่แล้ว  ผมและทีมงานได้มีโอกาสออกเดินทาง  เพื่อนำความช่วยเหลือเล็กๆ น้อยๆ ไปให้ก้บเกษตรกร  กระดูกสันหลังของชาติ  ก็เช่นเคยครับ  ผมได้รับการประสานงานจากต๋องเช่นเดียวกับคราวที่ไปลพบุรี  แต่คราวนี้พิเศษกว่าตรงที่ต๋องเขาร่วมเดินทางไปกับทีมงานเราด้วย  ที่เรียกว่าทีมงานก็เช่นเดิมครับมีผม  อาวดี  และอาฟอร์ด  ในการเดินทางครั้งนี้เราได้มีโอกาสแวะไปเยี่ยมคุณขวัญเมืองเจ้าของสวนกระท้อนขวัญเมือง  ลพบุรีด้วยครับ  เพื่อนๆ คงพอจะจำได้นะครับ  ตอนนี้ขอติดไว้ก่อนนะครับ  แล้วผมจะมาเล่าให้ฟังอีกครั้งหนึ่ง 

มาเข้าเรื่องครับ  การเดินทางอาสาของทีมเราครั้งนี้  เราไปชัยนาทครับ  ก็ไกลออกไปอีกหน่อย  จุดประสงค์ของการเดินทางครั้งนี้ก็เช่นเดียวกับคราวที่แล้วครับ  คือตั้งใจอาสาช่วยเหลือฟื้นฟูเรือกสวนไร่นาหลังภาวะน้ำท่วม  และเป็นกำลังใจส่วนหนึ่งให้แก่เกษตรกรด้วย  อาจจะไม่สามารถช่วยเหลือได้ทั้งหมด  แต่เราก็ช่วยเต็มที่เท่าที่กำลังความสามารถเรามี  ไม่แน่ครับอนาคตเราอาจจะได้รับการสนับสนุนจากเพื่อนๆ ที่สนใจเช่นเดียวกับเรา  นอกจากต๋องแล้วการเดินทางครั้งนี้จะสำเร็จไปไม่ได้หากไม่ได้รับการแนะนำจากพี่ดวงพร  ซึ่งผมก็ขอขอบคุณไว้ ณ ที่นี้ด้วยที่ช่วยแนะนำและติดต่อประสานงานกับทางกำนันแห่งสรรพยา  ทำให้การเดินทางของเราครั้งนี้ค่อนข้างราบรื่น  ในส่วนพี่ดวงพรเป็นใครอย่างไรนั้น  ผมขอมอบเป็นหน้าที่ของทางต๋องแล้วกันครับที่จะแนะนำให้เพื่อนๆ รู้จักในโอกาสต่อไป  เนื่องจากผมก็เพิ่งจะเคยพบพี่ดวงพรครั้งนี้เป็นครั้งแรกแหละครับ 

พวกเราไปถึงสถานที่นัดหมายประมาณบ่ายโมงกว่าๆ  ไปถึงช้ากว่านัดหมายนิดหน่อย  เนื่องจากเราไม่ค่อยชินกับเส้นทางเท่าใดนัก  ดังนั้นเมื่อไปถึงเราก็จะพบชาวบ้านนั่งรอเราอยู่แล้วประมาณร่วม 20 คนเห็นจะได้  ก็ต้องขอขอบคุณพี่กำนันไว้ ณ ที่นี้ด้วย  ที่ได้ช่วยกระจายข่าวการมาของเราและประสานงานอำนวยความสะดวกเรื่องสถานที่ชุมนุมนี้ด้วย  ตอนไปถึง  ผมก็ค่อนข้างอึ้งและแปลกใจเป็นอย่างมากเนื่องจากผมเห็นคราบรอยน้ำสีน้ำตาลอ่อนๆ คล้ายๆ กับที่เห็นที่กรุงเทพหลังน้ำลด  ที่แปลกใจเนื่องจากระดับแนวคราบน้ำนี้อยู่สูงกว่าหัวผมอีกครับ  แสดงว่าอย่างน้อยๆ ความสูงของน้ำท่วมก็ร่วมๆ 2 เมตรได้ครับ  ไม่หนีจากนี้นัก  เนื่องจากผมเองก็สูงประมาณ 170 กว่าๆ แล้ว  นอกจากแนวคราบน้ำที่อยู่เลยหัวแล้วที่น่าแปลกใจอย่างยิ่งก็คือ  ทางด้านข้างของที่ชุมนุมนี้เป็นแม่น้ำเจ้าพระยา  ซึ่งตอนนี้ระดับน้ำคะเนด้วยสายตาอยู่ต่ำกว่าพื้นที่ผมยืนประมาณตึก 4-5 ชั้นได้  ก็น่าจะประมาณ 10 กว่าเมตร  ก็เป็นที่สงสัยว่าก่อนหน้านี้น้ำมาจากไหน  แล้วตอนนี้น้ำหายไปไหน?????  ก็สงสัยไปงั้นแหละครับ  เพื่อนๆ บางคนอาจจะมีคำตอบ  ก็ไม่เป็นไรครับ  รู้หรือไม่รู้คำตอบก็ไม่แตกต่าง  ยังไงก็น้ำท่วมไปแล้ว  เรามาเข้าเรื่องต่อครับ  หลังจากที่พูดคุยคร่าวๆ กับชาวบ้านก็ได้ความว่าส่วนใหญ่เกือบทั้งหมดจะเป็นเกษตรกรปลูกข้าว  และถูกน้ำท่วมเกือบทั้งหมด  ซึ่งแน่นอนครับ  เสียหายมากมาย  พอได้ข้อมูลเบื้องต้นแล้ว  ทีมเราก็เริ่มบรรยายเกี่ยวกับไฮโกร  เริ่มจากที่มา  ตามด้วยวิธีการใช้  อัตราส่วนผสม  ช่วงระยะเวลาที่เหมาะสมกับการฉีด  การเลือกใช้ไฮโกรให้ตรงกับช่วงเวลาการเติบโตของต้นข้าว  ก็ไม่ยากครับ  อธิบายง่ายๆ ดังนี้  เริ่มจากข้าวเปลือกก็ใช้ Hygro S จนเริ่มตั้งท้องออกรวงก็เริ่มเปลี่ยนมาใช้ Hygro L ง่ายๆ แค่นี้เอง  ไม่ต้องมีวีธีการใช้อะไรให้สลับซับซ้อน    ชาวบ้านแต่ละคนก็ตั้งอกตั้งใจฟังกัน  ก็คงเข้าใจกันทุกคน  ก่อนแยกย้ายเราก็ได้ทำการแจก Hygro ทั้งสองแบบเพื่อให้ได้นำไปใช้กัน  อย่างน้อยก็ช่วยประหยัดค่าปุ๋ยไปได้บ้าง  หลังจากที่เพิ่งประสบภาวะน้ำท่วมมา  นอกจากนี้ยังเป็นผลดีกับผู้ใช้  เป็นผลดีกับผืนดินที่ใช้  ตลอดจนเป็นผลดีกับผู้บริโภคอย่างเราๆ ด้วย  เพราะ Hygro เป็นสารอินทรีย์ที่เป็นมิตรกับสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม  ไม่มีสารเคมีตกค้าง 

ผมค่อนข้างมั่นใจว่าหากใช้ Hygro ที่เราแจกให้ตั้งแต่ต้นจนจบกระบวนการกลายเป็นข้าว  เกษตรกรน่าจะได้รับผลผลิตหรือผลตอบแทนที่ค่อนข้างน่าพอใจ  ซึ่งหากเป็นเช่นนั้นจริงผมและทีมงานคงจะดีใจอย่างมากที่ช่วยให้เกษตรกรยิ้มได้  แล้วผมจะติดตามผลมาเล่าสู่กันฟังต่อไปครับ  ก็คงขอจบทริปชัยนาท1  เพียงเท่านี้ก่อนนะครับ  ขอบคุณที่ติดตามครับ…… 
          

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น